วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเลือก PLC(Programable logic Controller)


PLC จะประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 5 อย่าง
1. CPU : ตัวประมวลผล สิ่งที่ต้องพิจารณา speed เวลาที่ใช้รับคําสั่งจนไปถึง output อยู่ในเกณฑ์ที่ทุก
    ฝ่ายยอมรับได้หรือไม่ขึ้นกับ ตระกูลของ CPU, Load(จํานวน I/O point, กราฟฟิก, 
    การสื่อสาร mod bus, field bus,Profibus)
2. Memory : ไว้บรรจุคําสั่ง, Buffer ต่างๆ ควรเป็นแบบ EEPROM(download ไหม่ได้ ข้อมูลยังอยู่ถึงแม้
   ไม่มีไฟจากแบตเตอรี่ไปจ่าย) แบบ flash memory จําเป็นต้องมี battery backup ขนาดความจุของ
    memory จะคํานวนได้จากจํานวน i/o point ใน แคทตาลอค บางยี่ห้อ จะบอกวิธีคํานวน ความจุ
3. Power supply : เลือกให้เหมาะ กับ load(CPU, I/O point, communication card)
4. I/O point : external I/O(digital,analog, communication port),
   Internal I/O(Timer, Counter)
5. Chassis : PLUG IN SLOT BACKPLANE ที่เสียบ CPU,POWER SUPPLY I/O CARD
   ควร spare I/O 10-20% เผื่องานขยาย อย่าลืม เผื่อ ค่าใช้จ่าย FAT(factorry acceptance test), 
   SAT(site acceptance test), Commisioning(กี่วัน)
   ค่าเขียนโปรแกรม กรณีถ้าเขาคิดราคาแพง ก็ ลอง คิดค่าแรงที่ 500 บาท ต่อขั่วโมง เอาไปลองหาร
   ราคาที่เขาคิด จากนั้น เอาไปหาจํานวนวันทํางานที่ 8 ชั่วโมงต่อวัน
   เราจะได้จํานวนวันออกมา ว่ามันเกินไปมั้ย เอาตรงนี้ไปต่อรองราคาค่าเขียนโปรแกรมอีกที
   งานควบคุมขั้นสูง เช่น
1. Scada : สิ่ง ที่ต้องมีเพิ่ม เช่น remote terminal unit, graphic builder software
    MMI(Man/Machine/Interface) software,Option ของ software ก็ตามขนาด ของ I/O point/จํานวนของ 
    Control station Control station(หน้าจอ/computer ที่ใช้ monitor และควบคุม)
2. Redundancy : การใช้ CPU/power supply/Memory/I/O, communication Card)
    แบบ double หรือ triple,อาจต้องเลือก PLC ที่มี reliability ระดับ sil 3
    (sil : safety intigrity level)
3. งานที่ใช้กับระบบ shut down system : มี PLC ไม่กี่ ยี่ห้อ ทีได้รับการยอมรับกับงานประเภทนี้
    ถ้าใช้กับงานประเภทนี้ ต้องเช็คว่า ยี่ห้อไหนที่เขาใช้กัน อาจจะต้องการ reliability ระดับ sil 3
    สรุป ที่เขียนมาอาจจะดูเหมือน over spec ผมต้องพูดเผื่อเอาไว้เพื่อให้ครอบคลุมทุกงาน สุดท้าย
    การเลือก ก็ควร minimized spec เพื่อให้เหมาะกับงาน และ งบประมาณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น